ใครต้องจ่ายภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
- คนที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ในโฉนด มีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน
- คนที่เช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ ถือเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินได้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของแต่ก็มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย
- เป็นผู้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นในวันที่ 1 มกราคม ของปีภาษีนั้น เช่น ซื้อบ้านในเดือนธันวาคม 2564 จะต้องเสียภาษีที่ดินฯ ในปี 2565
แต่ถ้าซื้อบ้านสักวันที่ 7 มกราคม 2565 ก็ยังไม่ต้องเสียภาษีที่ดินฯ ในปี 2565 เพราะนับว่า วันที่ 1 มกราคม 2565 ยังไม่ได้ครอบครองบ้านหลังนี้ ต้องเสียภาษีที่ดินฯ ในปี 2566
วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(ราคาประเมินของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง - ฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น) X อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องเสีย
การเก็บภาษี คิดอัตราตามประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ที่อยู่อาศัยแยกเป็น 3 กรณีคือ
1.1 ที่อยู่อาศัยหลังที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีชื่อในทะเบียนบ้าน วันที่ 1 มกราคม ของปีภาษีนั้น ต้องจ่ายตามนี้
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 0-50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% = ล้านละ 1,000 บาท
1.2 ที่อยู่อาศัยหลังที่ 1 เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เช่น คนที่เช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย โดยมีชื่อในทะเบียนบ้าน วันที่ 1 มกราคม ของปีภาษีนั้น ต้องจ่ายตามนี้
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% = ล้านละ 1,000 บาท
1.3 ที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มากกว่า 1 หลัง จะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องจ่ายตามนี้
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% = ล้านละ 1,000 บาท
ที่ดินเกษตรกรรม ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การปลูกผักไว้กินเองแปลงเล็กๆ หรือปลูกต้นไม้ไม่กี่ต้น แต่ที่ดินเกษตรกรรมต้องมีจำนวนการเพาะปลูกตามข้อกำหนด ซึ่งอัตราการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
2.1 ที่ดินเกษตรกรรม เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา
ตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี พ.ศ.2562 จะยกเว้นภาษี 3 ปีแรก ให้กับเจ้าของที่ดินที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2566 เป็นต้นไป ต้องเสียภาษีตามปกติ สำหรับที่ดินที่ใช้ทำการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีตลอดไป
2.2 สำหรับเจ้าของที่ดินที่เป็นนิติบุคคล ต้องขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทที่ทำเกษตรกรรมและเสียภาษีที่ดินในอัตราปกติ คือ
มูลค่าที่ดิน 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
มูลค่าที่ดิน >75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท<
มูลค่าที่ดิน >100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
มูลค่าที่ดิน > 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
มูลค่าที่ดิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% = ล้านละ 1,000 บาท
ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเกษตร หรือที่อยู่อาศัย แต่เป็นที่ดินที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน โรงแรม หอพัก บ้านเช่า ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.30% = ล้านละ 3,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.40% = ล้านละ 4,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.50% = ล้านละ 5,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.60% = ล้านละ 6,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.70% = ล้านละ 7,000 บาท
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินที่ถูกปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ใดๆ เป็นประเภทที่เสียภาษีสูงสุด และหากเจ้าของยังปล่อยไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใดๆ นานเกิน 3 ปี จะถูกเก็บภาษีเพิ่ม .030% ในปีที่ 4 และหากยังปล่อยร้างจะถูกเก็บเพิ่มอีก.030% ทุกๆ 3 ปี โดยเสียภาษีในอัตราสูงสุดไม่เกิน 3% แต่ปกติจะเสียภาษีตามอัตรานี้
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.30% = ล้านละ 3,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.40% = ล้านละ 4,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.50% = ล้านละ 5,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง >1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.60% = ล้านละ 6,000 บาท
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.70% = ล้านละ 7,000 บาท
เมื่อทำความเข้าใจแล้วเราจะรู้ว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภทนั้นสูงจนน่ากลัวแต่จะน่ากลัวกว่าถ้าหากเราละเลยไปจนถึงลืมจ่าย ดังนั้นควรจ่ายอย่างถูกต้องตามขั้นตอน และตรงตามกำหนดเวลา